ยกระดับการรีไซเคิลกระป๋องอะลูมิเนียมแบบครบวงจรหนึ่งเดียวในอาเซียน

บริษัท ไทยเบเวอร์เรจแคน จำกัด ผนึกพันธมิตร บริษัท แองโก เอเชีย กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท ยูเอซีเจ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท และมูลนิธิการจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืน (มูลนิธิ 3R)

คุณสาโรช-ดรวิทูล.jpg

นายสาโรช ชยาวิวัฒน์กุล (ซ้าย) กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยเบเวอร์เรจแคน จำกัด และดร.วิฑูรย์ สิมะโชคดี (ขวา) ประธาน มูลนิธิการจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืน (มูลนิธิ 3R)

4 พันธมิตรร่วมประกาศความพร้อม ชูนวัตกรรมและกระบวนการจัดการขยะกระป๋องอะลูมิเนียมที่ได้มาตรฐานระดับสากลและครบวงจร โดยการนำบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้ว มาผ่านกระบวนการรีไซเคิล จากนั้นนำไปขึ้นรูปเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ เพื่อลดปริมาณขยะอย่างยั่งยืน โดยหากได้รับการส่งเสริมจากรัฐบาลก็จะช่วยสร้างประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม ผ่านการขับเคลื่อนประเทศแบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) จากกระป๋องอะลูมิเนียมต่อไป

นายสาโรช ชยาวิวัฒน์กุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยเบเวอร์เรจแคน จำกัด กล่าวว่า “บริษัท ไทยเบเวอร์เรจ แคน จำกัด หรือ ทีบีซี ในฐานะผู้นำในตลาดบรรจุภัณฑ์กระป๋องและฝาอะลูมิเนียมชั้นนำของไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มุ่งมั่นที่จะเป็นต้นแบบและผู้นำด้านความยั่งยืนในธุรกิจบรรจุภัณฑ์ โดยร่วมมือกับทั้งสี่องค์กรที่มีความตั้งใจเดียวกันในการลดปริมาณขยะ นำเทคโนโลยีรีไซเคิลที่ทันสมัยเข้ามาช่วยเปลี่ยนขยะอะลูมิเนียมให้กลับมาเป็นบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มที่ปลอดภัยและถูกสุขลักษณะ สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้ 100% เกิดการหมุนเวียนของทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพแท้จริง เพื่อลดโอกาสที่ขยะจะถูกนำไปฝังกลบ หรือหลุดไปเป็นขยะทะเล

ปัจจุบันประเทศไทยมีการผลิตกระป๋องอะลูมิเนียมประมาณ 6,500 ล้านกระป๋องต่อปี แบ่งเป็น 50% สำหรับส่งออกไปต่างประเทศ ส่วนอีก 50% จะวนอยู่ในประเทศไทย ซึ่งไทยเป็นประเทศหนึ่งเดียวในอาเซียนที่มีความพร้อมในการจัดการขยะอะลูมิเนียมได้ครบวงจร ผ่านความร่วมมือกับองค์กรต่างๆ เริ่มต้นการรีไซเคิลโดย บริษัท แองโก เอเชีย กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด ที่พร้อมให้บริการรีไซเคิลเศษกระป๋องอะลูมิเนียมในขั้นตอนตั้งแต่นำกระป๋องอะลูมิเนียมที่ถูกคัดแยกออกจากวัสดุอื่นๆ ผ่านเครื่องคัดแยก และทำความสะอาดแล้ว มาเข้าเครื่องตัด บดให้เป็นชิ้นเล็กๆ ป้อนเข้าสู่กระบวนการขจัดสีเคลือบแล็กเกอร์ และนำเศษอะลูมิเนียมไปหลอมเข้าเตาหลอมที่มีประสิทธิภาพ ผ่านกระบวนการผลิตได้มาตรฐานจากวัตถุดิบรีไซเคิลสูงถึง 99% จากนั้นส่งต่อไปยัง บริษัท ยูเอซีเจ (ประเทศไทย) จำกัด โรงงานผลิตแผ่นอะลูมิเนียมชั้นนำแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ให้ดำเนินการต่อตั้งแต่กระบวนการหล่อวัตถุดิบในอุณหภูมิสูงถึง 730 องศาเซลเซียสเพื่อความสะอาดปลอดภัยจากสิ่งปนเปื้อน ไปจนถึงกระบวนการรีดเป็นแผ่นอะลูมิเนียมโดยใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ภายใต้ความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติงานที่ได้บ่มเพาะมาเป็นเวลานาน ขณะที่ทางทีบีซีเองจะทำการขึ้นรูปทรงใหม่ตามประเภทของการใช้งาน ทั้งที่เป็นวัตถุดิบในการผลิตสินค้า และบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมต่อไป พร้อมสนับสนุนเศรษฐกิจหมุนเวียนภายใต้กรอบความยั่งยืน ผ่านการวิจัย และสร้างสรรค์นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองความต้องการของตลาดได้อย่างตรงจุด พร้อมรับมือกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของตลาดที่เกิดขึ้นตลอดเวลา


ทั้งนี้ การรีไซเคิลกระป๋องอะลูมิเนียมส่งเสริมให้เกิดประโยชน์ครอบคลุม 3 ด้าน ได้แก่

  • ด้านเศรษฐกิจเสริมสร้างการจ้างงานในอุตสาหกรรมรีไซเคิล ส่งเสริมอาชีพรับซื้อขยะรีไซเคิลทั้งร้านรับซื้อของเก่า และซาเล้ง ซึ่งมีอยู่ประมาณ 150,000 รายทั่วประเทศ ทั้งยังลดต้นทุนในการผลิต และการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศได้อีกทาง
  • ด้านสังคมสร้างการรับรู้ให้แก่ผู้บริโภคในการช่วยกันเพิ่มการจัดเก็บบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วให้ถูกต้อง กระตุ้นให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหันมาบูรณาการใช้นโยบายและระบบบริหารจัดการขยะอย่างจริงจัง
  • ด้านสิ่งแวดล้อมลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่ทั่วโลกกำลังเผชิญ โดยเฉพาะผลกระทบจากการทำเหมืองอะลูมิเนียม อีกทั้งลดปริมาณขยะฝังกลบ และขยะที่หลุดไปในทะเล นอกจากนี้ยังเป็นการใช้ทรัพยากรหมุนเวียนอย่างคุ้มค่า มีประสิทธิภาพ เพื่อช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

ด้าน ดร.วิฑูรย์ สิมะโชคดี ประธานกรรมการบริหาร มูลนิธิการจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืน (มูลนิธิ 3R) กล่าวว่า “ความร่วมมือในครั้งนี้มุ่งเน้นการรีไซเคิลกระป๋องอะลูมิเนียมแบบครบวงจร เพื่อพัฒนาเป็นต้นแบบการนำขยะกลับไปใช้ประโยชน์ใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และลดปริมาณขยะรวมในระบบ ซึ่งสอดคล้องกับพันธกิจหลักของมูลนิธิ 3R ในฐานะองค์กรในการผลักดันให้เกิดการบริหารจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืน ภายใต้แนวคิด 3R ประกอบไปด้วย การลดการใช้ (Reduce) เพิ่มการใช้ซ้ำ (Reuse) และนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) พร้อมส่งเสริมแนวคิดการออกแบบผลิตภัณฑ์และการพัฒนานวัตกรรมตามหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular Economy เพิ่มการนำทรัพยากรกลับมาใช้ใหม่ ควบคู่การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้กับธุรกิจในประเทศไทย ถือเป็นอีกก้าวสำคัญของประเทศไทยในการขับเคลื่อนการจัดการขยะ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืนต่อไป”

 

ความร่วมมือในครั้งนี้ตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นในการแก้ไขปัญหาขยะอย่างยั่งยืนของภาคเอกชนที่เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน พร้อมผลักดันให้ “การรีไซเคิลกระป๋องอะลูมิเนียม” เป็นหนึ่งในต้นแบบการจัดการขยะ ซึ่งหากรัฐบาลให้การสนับสนุนการรีไซเคิลกระป๋องอะลูมิเนียมก็จะช่วยผลักดันให้เกิดการรีไซเคิลในประเทศมากขึ้น ถือเป็นการสร้างประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม

Facebook
Twitter
LinkedIn

บทความที่เกี่ยวข้อง

ขาเทียมทำมาจากอะไร

ขาเทียมทำมาจากอะไร?

“ขาเทียม” อุปกรณ์ที่ช่วยเหลือผู้พิการให้สามารถกลับมาดำรงชีวิตได้อย่างเป็นปกติ แล้วขาเทียมทำมาจากอะไร มีส่วนประกอบของห่วงกระป๋องรีไซเคิลไหม?

อ่านต่อ
Liquid Death น้ำดื่มกระป๋องสายดิบเถื่อนที่ยอดขายพุ่งกระฉูด

Liquid Death น้ำดื่มกระป๋องที่เกิดมาเพื่อฆ่า…

น้ำดื่มกระป๋องยอดขายกว่า 2 หมื่นล้านบาท กำลังเป็นที่จับตามองในฐานะแบรนด์สุดกล้าบ้าบิ่นที่มีภาพลักษณ์ดิบเถื่อน แต่ได้รับการยอมรับอย่างล้นหลาม

อ่านต่อ
บรรจุภัณฑ์ยั่งยืนคืออะไร? ทำไมธุรกิจต้องปรับตัวและเปลี่ยนแปลง

ทำไมธุรกิจบรรจุภัณฑ์ต้องปรับตัวและเปลี่ยนแปลง?

ขยะบรรจุภัณฑ์เป็นเรื่องใกล้ตัวของทั้งผู้บริโภคและผู้ผลิต ผู้ผลิตจำเป็นต้องเข้ามามีบทบาทในการรับผิดชอบบรรจุภัณฑ์ของตนตั้งแต่ต้นทาง

อ่านต่อ