
เปิดมุมมอง… ภาคเอกชน รวมพลทำ EPR
ทุกคนต่างก็เป็นต้นเหตุของปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในวันนี้ ขณะที่ผู้บริโภคเริ่มเปลี่ยนมุมมองแล้ว ผู้ผลิตล่ะเริ่มทำอะไรแล้วบ้าง?
ขยะอลูมิเนียมเป็นหนึ่งในขยะที่ถูกนำมารีไซเคิลมากสุดชนิดหนึ่งของโลก และในประเทศไทยเองนั้นมีอัตราการรีไซเคิลวัสดุชนิดนี้สูงกว่า 90% เพื่อส่งเสริมลูปการรีไซเคิลและการผลิตกระป๋องอลูมิเนียมในประเทศให้เป็นไปอย่างครบวงจรในรูปแบบ Closed loop recycling ภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรทางด้านสิ่งแวดล้อม จำเป็นต้องร่วมมือกันเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
จึงเกิดบันทึกความร่วมมือ (MOU) เพื่อส่งเสริมการผลิตบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มที่สามารถรีไซเคิลได้ในประเทศไทย โดยมีพิธีลงนาม เมื่อวันที่ 25 พ.ย. 63 ระหว่างกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม และกรมควบคุมมลพิษ, มหาวิทยาลัยมหิดล, มูลนิธิการจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืน (3 อาร์), สมาคมอุตสาหกรรมเครื่องดื่มไทย, บริษัท ไทยเบเวอร์เรจแคน จำกัด, บริษัท ยูเอซีเจ (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท แองโกล เอเซีย เทรดดิ้ง จำกัด
เพื่อสนับสนุนการผลิตบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยสามารถนำบรรจุภัณฑ์นั้นๆ กลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล หรือหมุนเวียนกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ได้ และเพื่อขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) โดยใช้กลไกประชารัฐอันเป็นการบูรณาการระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และประชาชน ในการส่งเสริมการผลิตและการบริโภค รวมถึงการจัดการขยะอย่างยั่งยืน
ภายใต้ MOU ฉบับนี้ แต่ละหน่วยงานมีหน้าที่ ดังต่อไปนี้
ผู้ประกอบการในระบบการจัดการรีไซเคิลบรรจุภัณฑ์จากวัสดุอลูมิเนียมภายใต้บันทึกข้อตกลงฯ ฉบับนี้ ประกอบด้วย 3 บริษัท ได้แก่
1.) บริษัท ไทยเบเวอร์เรจแคน จำกัด
2.) บริษัท แองโกล เอเซีย เทรดดิ้ง จำกัด
3.) บริษัท ยูเอซีเจ (ประเทศไทย) จำกัด
ทุกคนต่างก็เป็นต้นเหตุของปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในวันนี้ ขณะที่ผู้บริโภคเริ่มเปลี่ยนมุมมองแล้ว ผู้ผลิตล่ะเริ่มทำอะไรแล้วบ้าง?
วงจรชีวิตบรรจุภัณฑ์มีส่วนที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หลายภาคส่วนกำลังแก้ไขปัญหาเหล่านี้เพื่อช่วยโลกเราจากผลกระทบที่เกิดขึ้น
ทรัพยากรธรรมชาติกำลังลดน้อยลงทุกวัน Circular Economy จะเข้ามาแก้ปัญหานี้ได้อย่างไร เมื่อมนุษย์ยังต้องใช้ทรัพยากรเหล่านี้เพื่อดำรงชีวิต