ขาเทียมทำมาจากอะไร?
“ขาเทียม” อุปกรณ์ที่ช่วยเหลือผู้พิการให้สามารถกลับมาดำรงชีวิตได้อย่างเป็นปกติ แล้วขาเทียมทำมาจากอะไร มีส่วนประกอบของห่วงกระป๋องรีไซเคิลไหม?
เวลาเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ต่างๆ นอกจากคุณภาพ ราคา โปรโมชั่น และรูปลักษณ์แล้ว ยังมีอะไรอีกบ้างที่คุณใช้ตัดสินใจเลือกกัน?
อีกสิ่งหนึ่งที่ผู้บริโภคในยุคนี้โดยเฉพาะผู้บริโภคสายกรีนมองหากันก็คือ ฉลากผลิตภัณฑ์หมุนเวียน หรือเครื่องหมายที่บ่งบอกว่าผลิตภัณฑ์หรือบรรจุภัณฑ์นั้นๆ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยอาจจะนำไปรีไซเคิลต่อได้ หรือผลิตจากวัสดุรีไซเคิลก็ตาม แต่เครื่องหมายที่ว่านั้นมีการรับรองว่าทำได้จริงไหม ก็ไม่มีใครทราบได้ เพราะผู้ผลิตเป็นคนใส่ลงไปเอง!
อย่างไรก็ตาม เมื่อไม่นานมานี้ได้มีเครื่องหมายหนึ่งเกิดขึ้นมาใหม่ชื่อว่า “Circular Mark” หรือ ฉลากผลิตภัณฑ์หมุนเวียน ที่บ่งบอกว่าสินค้าชิ้นใดเป็น “ผลิตภัณฑ์หมุนเวียน” ซึ่งมีการคิดค้นและพัฒนาขึ้นเป็นครั้งแรกของโลก โดยประเทศไทยเราเอง ภายใต้โครงการวิจัย “การพัฒนาระบบฉลากสิ่งแวดล้อมสำหรับผลิตภัณฑ์หมุนเวียนอันเป็นการส่งเสริมการหมุนเวียนวัสดุเพื่อขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจหมุนเวียนของประเทศไทย” โดย ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะด้านกลยุทธ์เพื่อธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (VGreen) คณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ร่วมกับหน่วยงานภาคี ได้แก่ กระทรวงอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และโครงการความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม เพื่อจัดการขยะอย่างยั่งยืน
โดยเครื่องหมาย Circular Mark นี้มีการพัฒนาภายใต้แนวคิด 3 ข้อ คือ
สินค้าใดที่มีเครื่องหมาย Circular Mark จะทำให้ผู้บริโภคมั่นใจได้ว่าสินค้านั้นผ่านการพิจารณาแล้วว่าเป็นผลิตภัณฑ์หรือบรรจุภัณฑ์หมุนเวียน ที่สำคัญ ข้อมูลสินค้า กระบวนการผลิต คำแนะนำการใช้งาน และวิธีกำจัดหลังหมดอายุการใช้งาน จะเข้าไปอยู่ใน “ระบบฉลากสิ่งแวดล้อมสำหรับผลิตภัณฑ์หมุนเวียน” โดยอัตโนมัติ แสดงให้เห็นถึงความโปร่งใสของผู้ผลิตผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ที่ใส่ใจเรื่องความยั่งยืนผ่านการสนับสนุนเศรษฐกิจหมุนเวียนซึ่งเป็นนโยบายและเป้าหมายด้านการรักษาสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนของประเทศไทย นอกจากนี้ ยังช่วยให้ผู้บริโภคสามารถจัดการผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์หลังการใช้งานได้อยากถูกต้อง เพื่อให้วัสดุจากผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์เหล่านั้นได้มีโอกาสนำกลับมาหมุนเวียนใช้ใหม่ และลดการเกิดของเสียที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
สำหรับบริษัทที่ต้องการขอฉลาก Circular Mark เพื่อใช้กับผลิตภัณฑ์หรือบรรจุภัณฑ์นั้น จะต้องผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการก่อน ซึ่งครอบคลุมประเด็นปัญหาด้านการใช้ทรัพยากรสิ้นเปลือง การเกิดขยะ การปล่อยก๊าซเรือนกระจก และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอื่นๆ โดยตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ต้องมุ่งเป้าไปที่การส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ให้มีการหมุนเวียนในระบบเพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ ลดปริมาณขยะ และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายเศรษฐกิจหมุนเวียนของประเทศที่จะช่วยสร้างคุณภาพสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับสังคมไทยและประชาคมโลกได้
เบื้องต้นในปีแรก (2022) นี้ มี 376 ผลิตภัณฑ์ จาก 30 บริษัท ที่ได้รับการรับรอง Circular Mark เป็นกลุ่มแรกของไทย ซึ่งประกอบไปด้วยอุตสาหกรรมหลัก 5 กลุ่ม คือ เกษตร-อาหาร, วัสดุก่อสร้าง, พลาสติก, บรรจุภัณฑ์ และแฟชั่น-ไลฟ์สไตล์
โดยในกลุ่มบรรจุภัณฑ์นั้น บริษัท ไทย เบเวอร์เรจ แคน จำกัด (TBC) พาร์ทเนอร์ซึ่งเป็นผู้ผลิตกระป๋องและฝาอลูมิเนียมที่ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของ Aluminium Loop ก็เป็นบริษัทผู้บุกเบิกในกลุ่มอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองโดย Circular Mark เช่นกัน
ซึ่งก็ไม่แปลกใจเลยที่บริษัทผู้ผลิตกระป๋องอลูมิเนียมจะได้รับการรับรองโดย Circular Mark เพราะกระป๋องอลูมิเนียมเป็นบรรจุภัณฑ์หนึ่งที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากๆ ด้วยคุณสมบัติที่สามารถรีไซเคิลได้ทุกส่วนแบบ 100% อย่างไม่รู้จบ ทำให้ตอบโจทย์การเป็นบรรจุภัณฑ์หมุนเวียนตามนโยบาย Circular Economy ได้อย่างชัดเจน
“ขาเทียม” อุปกรณ์ที่ช่วยเหลือผู้พิการให้สามารถกลับมาดำรงชีวิตได้อย่างเป็นปกติ แล้วขาเทียมทำมาจากอะไร มีส่วนประกอบของห่วงกระป๋องรีไซเคิลไหม?
กระป๋องโลหะมีหลายชนิด จะแยกกระป๋องอลูมิเนียมออกจากบรรจุภัณฑ์อื่นอย่างกระป๋องเหล็กที่หน้าตาใกล้เคียงกันได้อย่างไร
อลูมิเนียมเป็นโลหะที่ถูกนำมาใช้มากที่สุดตัวหนึ่งทั้งในภาคอุตสาหกรรมและครัวเรือน อลูมิเนียมเหล่านี้มีความเหมือนและต่างกันอย่างไร มาหาคำตอบกัน