น้ำดื่มกระป๋องบนโต๊ะผู้นำโลก APEC 2022 Thailand

จบไปแล้วกับงานประชุมสุดยอดผู้นำ APEC หมดยุคแล้วสำหรับขวดน้ำพลาสติก งานนี้น้ำดื่มบนโต๊ะผู้นำของโลกมาในรูปแบบบรรจุ กระป๋องอลูมิเนียม ที่สามารถรีไซเคิลได้

น้ำดื่มกระป๋อง APEC 2022 Thailand
Picture credit: APEC 2022 Thailand
น้ำดื่มกระป๋อง APEC 2022 Thailand
Picture credit: APEC 2022 Thailand

APEC (Asia-Pacific Economic Cooperation) เป็นเวทีการประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ที่มีความสำคัญระดับโลก ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1989 มีเป้าหมายหลักเพื่อส่งเสริมการเปิดเสรีการค้า การลงทุน และความร่วมมือในด้านมิติสังคมและการพัฒนาด้านอื่นๆ ซึ่งในปี 2022 นี้ ประเทศไทยได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเอเปคตลอดทั้งปี รวมถึงการประชุมสุดยอดผู้นำเอเปคที่ได้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 18-19 พฤศจิกายน ที่ผ่านมานี้

 

แนวคิดหลักของ APEC 2022

ในช่วงหลัง COVID-19 ไทยให้ความสำคัญกับการฟื้นฟูเศรษฐกิจเป็นอันดับแรก จึงตั้งใจส่งเสริมแนวคิด “เปิดกว้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน สู่สมดุล” หรือ Open. Connect. Balance.” ให้เป็นเสาหลักของ เอเปค 2022 ในครั้งนี้ ในฐานะเจ้าภาพ ไทยได้เล็งเห็นถึงช่องทางในการเพิ่มโอกาสด้านการค้าและการลงทุนที่เชื่อมโยงในทุกมิติเพื่อฟื้นฟูการเดินทางอย่างปลอดภัย และสนับสนุนการเติบโตอย่างยั่งยืนผ่านการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคม เน้นสร้างสมดุลมากกว่าสร้างผลกำไร โดยมี BCG Model ซึ่งเป็นแบบแผนการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวม ประกอบด้วย เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio Economy, Circular Economy, Green Economy) เป็นพื้นฐานสำคัญที่สอดคล้องกับแนวทางของเอเปค 2022

น้ำดื่มกระป๋อง APEC 2022 Thailand
Picture credit: APEC 2022 Thailand
น้ำดื่มกระป๋อง APEC 2022 Thailand
Picture credit: APEC 2022 Thailand

นับตั้งแต่การประชุมภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศครั้งที่ 26 หรือ UN Climate Change Conference of the Parties (COP26) ที่เมืองกลาสโกว์ ประเทศสกอตแลนด์ เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2021 กับข้อตกลงที่พยายามควบคุมอุณหภูมิโลกไม่ให้เพิ่มสูงกว่า 1.5 องศาเซลเซียส และเว็บไซต์การประชุมอย่างเป็นทางการยังระบุว่า COP26 “มีความเร่งด่วนเป็นพิเศษ” และอาจเป็น “โอกาสสุดท้ายของโลกที่จะทำให้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (climate change) อยู่ภายใต้การควบคุม”

การเปลี่ยนแปลงเพื่อให้บรรลุผลลัพธ์นี้อาจมีให้เห็นตั้งแต่ในงานการประชุม กับการใช้ขวดอลูมิเนียมบรรจุน้ำดื่ม ซึ่งเป็นอีกเทรนด์บรรจุภัณฑ์หนึ่งที่เกิดขึ้นเพื่อลดการใช้ขวดพลาสติกที่กำลังเป็นปัญหาขยะล้นโลกในขณะนี้ ตอกย้ำทิศทางโลกที่กำลังมุ่งไปสู่การแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง

ขวดน้ำอลูมิเนียม COP26
Picture credit: Cop26 Conference Glasgow
ขวดน้ำอลูมิเนียม COP26
Picture credit: Cop26 Conference Glasgow

ทำไมต้องน้ำดื่มในกระป๋องและขวดอลูมิเนียม?​

ขยะพลาสติกที่เกิดขึ้นในทุกวันนี้ จะด้วยพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งหรือพลาสติกที่ยังสามารถรีไซเคิลได้ แต่ก็รีไซเคิลได้จำกัดจำนวนครั้งและคุณภาพอาจลดลง เป็นสาเหตุให้มีการผลิตบรรจุภัณฑ์ทางเลือกที่รักษ์โลกมากขึ้น ซึ่งก็ถือเป็นการเปลี่ยนแนวคิดของผู้ผลิตที่ต้องการใส่ใจสิ่งแวดล้อมและตอบสนองผู้บริโภคที่ต้องการใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเช่นกัน

กระป๋องและขวดอลูมิเนียมเทรนด์บรรจุภัณฑ์รักษ์โลกที่กำลังมาแรงในปัจจุบัน ด้วยรูปทรงที่จับถนัดมือ น้ำหนักเบา พกพาสะดวก นำความเย็นได้เร็ว และดีไซน์ที่ถูกออกแบบมาอย่างสร้างสรรค์ นอกจากนี้ สำหรับ กระป๋องอลูมิเนียม เองนั้นระหว่างตัวกระป๋องและฝายังปิดสนิท จึงสามารถป้องกันการซึมผ่านของก๊าซ ความชื้น และแสงได้ 100% ซึ่งช่วยทำให้เครื่องดื่มยังมีคุณภาพคงเดิม ในขณะที่ขวดอลูมิเนียมก็แก้ปัญหาเรื่องการดื่มไม่หมดในครั้งแรก โดยมีฝาปิดเพื่อบริโภคต่อ และใช้ซ้ำต่อได้

ที่สำคัญ ทั้งกระป๋องและขวดอลูมิเนียมยังสามารถรีไซเคิลได้ทุกส่วนแบบ 100% อย่างไม่จำกัดจำนวนครั้ง จึงทำให้ กระป๋องอลูมิเนียม และตัวเลือกใหม่อย่างขวดอลูมิเนียมกำลังเป็นที่จับตามองในฐานะบรรจุภัณฑ์รักษ์โลกที่แสดงถึงความยั่งยืนได้อย่างชัดเจน

สำหรับมาตรฐานการผลิตนั้น แม้ว่ากระป๋องและขวดอลูมิเนียมจะใช้อลูมิเนียมรีไซเคิลในการผลิตซ้ำ แต่ก็สามารถมั่นใจในความสะอาดและความปลอดภัยได้ตามมาตรฐานของผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์และเครื่องดื่ม นอกจากนี้ การรีไซเคิลยังเป็นการลดการใช้ทรัพยากรใหม่ โดยใช้ทรัพยากรเดิมเป็นส่วนผสมหมุนเวียนได้อย่างคุ้มค่า ยิ่งไปกว่านั้น การใช้วัสดุอลูมิเนียมรีไซเคิลจะช่วยลดพลังงานในการผลิตลง 95% เมื่อเทียบกับการถลุงแร่ขึ้นมาใหม่ จึงสามารถลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกระบวนการผลิตลงได้อย่างมหาศาล ซึ่งเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สามารถแก้ปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้

กระป๋องอลูมิเนียมกับแนวคิด BCG 

กระป๋องอลูมิเนียมสามารถรีไซเคิลหมุนเวียนในระบบวงจรปิดได้อย่างไม่รู้จบ หรือเรียกว่า Closed-Loop Recycling ซึ่งเป็นการรีไซเคิลกระป๋องให้กลับมาเป็นกระป๋องใบใหม่ได้เรื่อยๆ (Can to Can) ตอบโจทย์แนวคิดด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) หนึ่งในสามของมิติการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวม (BCG Model: Bio Economy, Circular Economy, Green Economy) ของประเทศไทย 

Circular Economy เป็นระบบที่ออกแบบมาเพื่อคืนสภาพหรือให้ชีวิตใหม่แก่วัสดุต่างๆ ในวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ เพื่อให้สามารถใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ รวมถึงยืดอายุการใช้งานทรัพยากรนั้นๆ ให้ยาวนานมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยวิธีดังกล่าวจะต้องไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสร้างของเสียให้น้อยที่สุด เพื่อให้เกิดการหมุนเวียนของทรัพยากรอย่างต่อเนื่อง

น้ำแร่ธรรมชาติและน้ำแร่ธรรมชาติชนิดอัดแก๊ส บรรจุกระป๋องอลูมิเนียม ตราช้าง
น้ำแร่ธรรมชาติและน้ำแร่ธรรมชาติชนิดอัดแก๊ส บรรจุกระป๋องอลูมิเนียม ตราช้าง

น้ำกระป๋องในงาน APEC นี้มี 2 แบบ คือ น้ำแร่ธรรมชาติและน้ำแร่ธรรมชาติชนิดอัดแก๊ส ตราช้าง จากบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) พันธมิตรสำคัญในการสนับสนุนการประชาสัมพันธ์การเป็นเจ้าภาพเอเปคของประเทศไทย

Facebook
Twitter
LinkedIn

บทความที่เกี่ยวข้อง

เครื่องดื่มกระป๋องปรับตัวรับสถานการณ์ Covid-19 อย่างไร?

สถานการณ์ Covid-19 ส่งผลให้การตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคเปลี่ยนไป เครื่องดื่มกระป๋องก็ต้องปรับตัวให้ตอบโจทย์ผู้บริโภคมากขึ้นเช่นกัน

อ่านต่อ
บรรจุภัณฑ์ยั่งยืนคืออะไร? ทำไมธุรกิจต้องปรับตัวและเปลี่ยนแปลง

ทำไมธุรกิจบรรจุภัณฑ์ต้องปรับตัวและเปลี่ยนแปลง?

ขยะบรรจุภัณฑ์เป็นเรื่องใกล้ตัวของทั้งผู้บริโภคและผู้ผลิต ผู้ผลิตจำเป็นต้องเข้ามามีบทบาทในการรับผิดชอบบรรจุภัณฑ์ของตนตั้งแต่ต้นทาง

อ่านต่อ

Circular Economy กับการหมุนเวียนบรรจุภัณฑ์

สำหรับประเทศไทย เราให้ความสำคัญกับ Circular Economy ขนาดไหน มีการขับเคลื่อนเรื่องนี้อย่างไร แล้วยังมีเรื่องใดอีกที่เกี่ยวข้อง ไปหาคำตอบกัน

อ่านต่อ