“Circular Mark” ฉลากผลิตภัณฑ์หมุนเวียน
อีกสิ่งหนึ่งที่ผู้บริโภคในยุคนี้มองหากันก็คือ เครื่องหมายที่บ่งบอกว่าผลิตภัณฑ์หรือบรรจุภัณฑ์นั้นๆ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ในปัจจุบัน ผู้บริโภคมีความใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ส่งผลให้ความต้องการผลิตภัณฑ์ที่รักษ์โลกเพิ่มสูงขึ้น ผู้ผลิตจึงต้องปรับตัวเพื่อตอบสนองความต้องการนี้และเพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม หนึ่งในแนวทางที่ได้รับความนิยมคือ การนำ มาตรฐาน ASI มาใช้ในกระบวนการผลิต
สำหรับผลิตภัณฑ์จากอลูมิเนียมที่ขับเคลื่อนการบริโภคและการใช้ชีวิตของผู้คนนั้นก็ตอบโจทย์เรื่องความรักษ์โลกและความยั่งยืนเช่นกัน เพราะอลูมิเนียมเป็นหนึ่งในวัสดุที่เป็นมิตรต่อโลกด้วยความสามารถในการรีไซเคิลได้ไม่รู้จบนั่นเอง
เพื่อความโปร่งใสในการใช้วัสดุอลูมิเนียมอย่างยั่งยืนนี้ จึงจำเป็นต้องมีการรับรองที่เป็นทางการเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับผู้บริโภค ซึ่งในวงการอลูมิเนียมก็มีองค์กรไม่แสวงผลกำไรระดับโลก อย่าง ASI (Aluminium Stewardship Initiative) ที่เข้ามาเป็นตัวช่วยให้ผู้บริโภคสามารถตัดสินใจเลือกสินค้าที่มีส่วนประกอบของอลูมิเนียมได้ง่ายขึ้น เช่นเดียวกับ FSC (Forest Stewardship Council) ของกล่องกระดาษ เป็นต้น
ASI หรือ Aluminium Stewardship Initiative เป็นองค์กรไม่แสวงผลกำไรซึ่งทำหน้าที่ในการกำหนดและรับรองมาตรฐานเพื่อส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนและความโปร่งใสในอุตสาหกรรมอลูมิเนียม โดยครอบคลุมทั้งผู้ผลิต ผู้ใช้ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในห่วงโซ่การผลิตอลูมิเนียมทุกภาคส่วน เพื่อไปให้ถึงเป้าหมายในการสร้างและกำหนดมาตรฐานใหม่ในการจัดหาอลูมิเนียมอย่างยั่งยืน ผ่านการส่งเสริมให้เกิดการจัดหา การผลิต และการควบคุมดูแลการใช้อลูมิเนียมอย่างมีความรับผิดชอบร่วมกัน ก่อเกิดเป็นความตั้งใจที่จะสร้างมาตรฐานในการใช้ทรัพยากรอลูมิเนียมอย่างรู้คุณค่า ตั้งแต่การควบคุมขั้นตอนการถลุงแร่ใหม่ไปจนถึงทุกขั้นตอนในกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์จากอลูมิเนียม ตลอดจนการรีไซเคิลอลูมิเนียมเพื่อนำกลับมาหมุนเวียนใช้ใหม่ให้เป็นไปตาม มาตรฐาน ASI
วิสัยทัศน์ พันธกิจ และวัตถุประสงค์ของ ASI คือ…
วิสัยทัศน์: เพิ่มการมีส่วนร่วมของอลูมิเนียมให้มากที่สุดเพื่อสังคมที่ยั่งยืน
พันธกิจ: สร้างการยอมรับและส่งเสริมการผลิต การจัดหา และการควบคุมดูแลอลูมิเนียมอย่างมีความรับผิดชอบร่วมกัน
วัตถุประสงค์:
ปัจจุบันนี้ ASI เป็นเพียงมาตรฐานเดียวเท่านั้นที่รองรับการจัดหาวัตถุดิบในห่วงโซ่การผลิตอลูมิเนียม ตั้งแต่อุตสาหกรรมขั้นต้นไปจนถึงอุตสาหกรรมขั้นปลาย เช่น บรรจุภัณฑ์, การขนส่ง, การก่อสร้าง และงานวิศวะกรรม ซึ่งมีเกณฑ์ในการประเมินสูงถึง 59 ข้อ ภายใต้ 3 เสาหลักด้านความยั่งยืน: ธรรมาภิบาล, สิ่งแวดล้อม และสังคม ซึ่งครอบคลุมประเด็นต่างๆ ทั้งความหลากหลายทางชีวภาพ สิทธิมนุษยชน และการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
ทั้งนี้ บริษัท ไทย เบเวอร์เรจ แคน จำกัด (TBC) หนึ่งในผู้ก่อตั้งของ Aluminium Loop ในฐานะผู้ผลิตกระป๋องอลูมิเนียมและฝา ก็ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของกระบวนการผลิตที่ยึดมั่นในแนวคิด ESG (Environment, Social, Governance) หรือแนวคิดในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน โดย TBC เป็นผู้ผลิตกระป๋องอลูมิเนียมรายแรกที่ได้รับการรับรอง มาตรฐาน ASI ทั้ง ASI Performance Standard และ ASI Chain of Custody Standard เป็นบริษัทแรกในประเทศไทย
นอกจากนี้ ยังมีบริษัทอื่นๆ ในห่วงโซ่การใช้งานอลูมิเนียมที่ได้รับการรับรองจาก ASI เช่นกัน เช่น Nestlé Nespresso, Apple Inc., Audi เป็นต้น
นั่นแสดงให้เห็นว่า ผลิตภัณฑ์จากอลูมิเนียมที่มีตราสัญลักษณ์ ASI ถือเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีการจัดหาอลูมิเนียมจากผู้ผลิตที่มีความรับผิดชอบเพื่อความยั่งยืนตลอดทั้งห่วงโซ่การผลิต ทั้งดีต่อสิ่งแวดล้อม ดีต่อโลก และดีต่อผู้บริโภคทั้งในปัจจุบันและอนาคต
อีกสิ่งหนึ่งที่ผู้บริโภคในยุคนี้มองหากันก็คือ เครื่องหมายที่บ่งบอกว่าผลิตภัณฑ์หรือบรรจุภัณฑ์นั้นๆ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
Aluminium Loop สนับสนุนกระป๋องอลูมิเนียมแก่ร้านคราฟท์เบียร์ที่ร่วมกิจกรรม TCBW 2024 ส่งเสริมการใช้บรรจุภัณฑ์ยั่งยืนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ผู้บริโภคคือตัวแปลสำคัญในการคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทางเพื่อให้ขยะได้ไปสู่แหล่งกำจัดขยะที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ