LCA กับวงจรชีวิตบรรจุภัณฑ์
วงจรชีวิตบรรจุภัณฑ์มีส่วนที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หลายภาคส่วนกำลังแก้ไขปัญหาเหล่านี้เพื่อช่วยโลกเราจากผลกระทบที่เกิดขึ้น
อลูมิเนียมถือได้ว่าเป็นโลหะที่ถูกนำมาใช้ประโยชน์มากที่สุดตัวหนึ่งทั้งในภาคอุตสาหกรรมและภาคครัวเรือน โดยเราสามารถพบอลูมิเนียมได้ทั้งในรูปแบบกระป๋องอลูมิเนียมบรรจุเครื่องดื่ม ฟอยล์ห่ออาหาร อุปกรณ์ครัว กรอบประตูหน้าต่าง ชิ้นส่วนรถยนต์ หรือแม้แต่ชิ้นส่วนเครื่องบินและชิ้นส่วนยานอวกาศ ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ล้วนมีส่วนผสมหลักเป็นโลหะอลูมิเนียมทั้งสิ้น แต่อลูมิเนียมที่ว่านั้นจะมีความเหมือนและความต่างกันอย่างไร? Aluminium Loop ชวนผู้อ่านมาหาคำตอบกันค่ะ
ก่อนอื่นเลยเรามาเรียนรู้ถึงคุณสมบัติของอลูมิเนียมกันก่อนดีกว่า เพราะบางคนอาจจะสงสัยว่าเจ้าโลหะตัวนี้มีดียังไง ทำไมถึงนำไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลายเลย
ด้วยคุณสมบัติที่มีความแข็งแรงแต่มีความหนาแน่นน้อยและน้ำหนักเบา นำความร้อนและความเย็นได้ดี ทนต่ออากาศจึงไม่ถูกกัดกร่อน สามารถขึ้นรูปได้ง่าย และที่สำคัญสามารถรีไซเคิลเพื่อนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ได้เรื่อยๆ ไม่รู้จบ ทำให้อลูมิเนียมถูกนำไปใช้ในหลากหลายอุตสาหกรรม
อย่างไรก็ตาม หลายผลิตภัณฑ์ที่มีอลูมิเนียมเป็นส่วนประกอบนั้นไม่ได้ใช้อลูมิเนียมบริสุทธิ์ 100% แต่มักจะเป็นอลูมิเนียมผสม (Aluminium Alloy) กับธาตุอื่นๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของวัสดุให้เหมาะกับการใช้งานนั้นๆ ซึ่งธาตุที่ผสมก็มีทั้งแม็กนีเซียม, ซิลิกอน, ทองแดง, แมงกานีส และสังกะสี เป็นต้น โดยเราสามารถแยก Aluminium Alloy ออกเป็น 9 ซีรีส์ ตามคุณสมบัติของอลูมิเนียมที่มีการผสมกับธาตุต่างๆ แล้ว
Series 1xxx: อลูมิเนียมที่มีความบริสุทธิ์ไม่น้อยกว่า 99.00%
Series 2xxx: อลูมิเนียมเจือทองแดง (Aluminium-Copper Alloys)
Series 3xxx: อลูมิเนียมเจือแมงกานีส (Aluminium-Manganese Alloys)
Series 4xxx: อลูมิเนียมเจือซิลิกอน (Aluminium-Silicon Alloys)
Series 5xxx: อลูมิเนียมเจือแมกนีเซียม (Aluminium-Magnesium Alloys)
Series 6xxx: อลูมิเนียมเจือแมกนีเซียมและซิลิกอน (Aluminium-Magnesium-Silicon Alloys)
Series 7xxx: อลูมิเนียมเจือสังกะสี (Aluminium-Zinc Alloys)
Series 8xxx: อลูมิเนียมเจือลิเธียม (Aluminium-Lithium Alloys)
Series 9xxx: ยังไม่มีการใช้งาน
ตัวเลขตัวแรก 1-9 จะเป็นตัวเลขที่แสดงถึงซีรีส์ของอลูมิเนียมผสมทั้ง 9 ซีรีส์ และในแต่ละซีรีส์จะมีตัวเลขหลักที่สองถึงหลักที่สี่แตกต่างกันไปอีกตามปริมาณส่วนผสมที่แตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น
กระป๋องอลูมิเนียมใช้อลูมิเนียมในซีรีส์ที่ 3 (อลูมิเนียมเจือแมงกานีส) ที่มีคุณสมบัติด้านความแข็งแรงค่อนข้างดี แต่ไม่ถึงกับสูงมาก แต่มีความยืดหยุ่นและความเหนียวสูง ซึ่งช่วยให้การขึ้นรูปกระป๋องทำได้ง่าย โดยจัดเป็น Aluminium Alloy 3104
ในขณะที่ฝากระป๋องที่หลายคนอาจจะเข้าใจว่าคงใช้อลูมิเนียมชนิดเดียวกันกับตัวกระป๋อง แต่ที่จริงแล้วกลับใช้อลูมิเนียมในซีรีส์ที่ 5 (อลูมิเนียมเจือแมกนีเซียม) ที่มีความแข็งแรงและความกรอบเปราะมากกว่า รวมถึงทนต่อการกัดกร่อนได้ดี เพื่อให้ตัวฝาคงตัวและสามารถเปิดบริโภคได้ง่าย โดยจัดเป็น Aluminium Alloy 5182
ถึงแม้อลูมิเนียมจะถูกแยกย่อยออกได้ถึง 9 ซีรีส์ ตามส่วนผสมที่แตกต่างกันไป แต่สุดท้ายแล้วก็สามารถนำกลับมารีไซเคิลได้เหมือนกันทุก Aluminium Alloy ไม่ใช่เพียงแค่กระป๋องอลูมิเนียมเท่านั้นที่สามารถรีไซเคิลได้ แต่ถ้าจะให้ดีก็ควรรีไซเคิลอลูมิเนียมชนิดต่างๆ ให้กลับไปเป็นผลิตภัณฑ์ชนิดเดิม เพื่อลดความจำเป็นในการเพิ่มสารตั้งต้นเข้าไป
รู้อย่างนี้แล้วหากใครมีเครื่องใช้ไฟฟ้า ชิ้นส่วนรถยนต์ หรือวัสดุงานก่อสร้างต่างๆ ไม่ใช้แล้วที่ทำจากอลูมิเนียม รวมถึงกระป๋องอลูมิเนียมบรรจุเครื่องดื่มที่บริโภคหมดแล้ว ก็สามารถนำไปขายที่ร้านขายของเก่าเพื่อให้อลูมิเนียมเหล่านี้กลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อไปได้นะคะ นอกจากจะรักษ์โลกแล้ว ยังขายได้ราคาดีอีกด้วยนะ (อ่านบทความเรื่องราคาอลูมิเนียมเพิ่มเติมได้ที่ https://aluminiumloop.com/lme-aluminium-price/)
ขอบคุณสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมจาก Anglo Asia Group โรงงานรีไซเคิลวัสดุอลูมิเนียมที่ได้รับการยอมรับด้วยประสบการณ์และความเชี่ยวชาญ
วงจรชีวิตบรรจุภัณฑ์มีส่วนที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หลายภาคส่วนกำลังแก้ไขปัญหาเหล่านี้เพื่อช่วยโลกเราจากผลกระทบที่เกิดขึ้น
จากกระแสโลกในปัจจุบันที่มุ่งไปสู่ทิศทางของการพัฒนาอย่างยั่งยืน แล้วกระป๋องอลูมิเนียมจะตอบโจทย์ความยั่งยืนในมุม SDGs อย่างไรบ้าง?
ขยะอาจจะเป็นเรื่องไกลตัว แต่ถ้าจัดการดี ขยะก็อาจได้กลับมาสร้างประโยชน์ได้ แล้วอะไรจะเป็นตัวช่วยผลักดันให้เกิดการจัดการขยะที่ดีล่ะ?